วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Economic Geography

ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ คือ วิชาที่ศึกษาทรัพยากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก
โดยวิเคราะห์ปัญหาทางธรรมชาติ และปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ของดินแดนต่างๆ ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจยังเน้นเรื่องการผลิต การค้าระหว่างประเทศ อุตสาหกรรม
การขนส่ง การเพาะปลูกพืชในภูมิภาคต่างๆ ปัญหาค่าจ้างแรงงาน แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แนะนำเว็บไซด์ด้านเศรษฐศาสตร์

คลิกไปที่www.uinthai.net มีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างละเอียด ตอนนี้มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาเซียนก็มี มีเรื่องเกี่ยวกับในหลวงและวิถีพอเพียง นักเรียนที่สนใจวิชาเศรษฐศาสตร์ควรเข้าศึกษา

ความหมายของเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ

วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน(เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง)
เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือก
เกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน

เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกแบ่งออกเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจกิจกรรมของตัวแทนปัจเจก เช่นครัวเรือนและหน่วยธุรกิจเป็นต้น 2. เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานรวมและอุปสงค์รวม สำหรับปริมาณเงิน ทุน และสินค้าโภคภัณฑ์

สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต

การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวข้อง

กับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆนั่นเอง

ในวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแส
หลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก
คำว่า เศรษฐศาสตร์ ในภาษาอังกฤษ Economics มาจากภาษากรีก οίκος [ออยคอส]
แปลว่า 'ครัวเรือน' และ νομος [นอมอส] แปลว่า 'กฎระเบียบ' ดังนั้นรวมกันแล้วจึงหมาย
ความว่า "การจัดการในครัวเรือน" ; สำหรับภาษาไทย [เศรษฐ] แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม
ประเสริฐ และ [ศาสตร์] แปลว่า ระบบวิชาความรู้ มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น วิทยาศาสตร์
ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงแปลว่าวิชาที่ว่าด้วยประสิทธิภาพ
เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้อง
ในกระบวนการในเรื่องของความต้องการ อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากคำนิยามดังกล่าวแล้วก็ยังมีคำนิยามหลากหลายนับแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากศัพท์คำว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง จนมาถึงศัพท์สมัยใหม่คือคำว่า
เศรษฐศาสตร์ แม้ว่าจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เคยให้คำนิยามเศรษฐศาสตร์ในฐานะที่เป็น "ศาสตร์เกี่ยวกับการคิด" ซึ่งตามประวัติของเศรษฐศาสตร์นั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับ "ความมั่งคั่ง" จนกระทั่งเป็น "สวัสดิการ" ไปจนถึงการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับภาวะการได้อย่างเสียอย่าง (trade offs) แต่สำหรับสำนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่อย่างนีโอคลาสสิกจะให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวแปรที่
สามารถวัดค่าได้ และผลกระทบของมันกับระดับราคา

หากจะกล่าวโดยสรุป สามารถกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร

ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ให้กับมนุษย์ซึ่งมีความต้องการอย่างไม่จำกัด ศาสตร์นี้จึงให้ความสนใจ

ว่าจะจัดสรรทรัพยากรอะไร ให้กับใคร เท่าใด เมื่อใด และอย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

แม้การถกเถียงเรื่องการซื้อขายและการจัดสรรจะมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เศรษฐศาสตร์ในความคิดของคนสมัยใหม่นั้นจะถือเอาวันที่อดัม สมิธได้เผยแพร่หนังสือเรื่อง ความมั่งคั่งของประเทศชาติ ในปี 1776 เป็นการเริ่มต้นเดิม อดัม สมิธ เรียกวิชานี้ว่าเศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็น เศรษฐศาสตร์ เพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 187