วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ

วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน(เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง)
เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือก
เกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน

เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกแบ่งออกเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจกิจกรรมของตัวแทนปัจเจก เช่นครัวเรือนและหน่วยธุรกิจเป็นต้น 2. เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานรวมและอุปสงค์รวม สำหรับปริมาณเงิน ทุน และสินค้าโภคภัณฑ์

สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต

การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวข้อง

กับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆนั่นเอง

ในวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแส
หลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก
คำว่า เศรษฐศาสตร์ ในภาษาอังกฤษ Economics มาจากภาษากรีก οίκος [ออยคอส]
แปลว่า 'ครัวเรือน' และ νομος [นอมอส] แปลว่า 'กฎระเบียบ' ดังนั้นรวมกันแล้วจึงหมาย
ความว่า "การจัดการในครัวเรือน" ; สำหรับภาษาไทย [เศรษฐ] แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม
ประเสริฐ และ [ศาสตร์] แปลว่า ระบบวิชาความรู้ มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น วิทยาศาสตร์
ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงแปลว่าวิชาที่ว่าด้วยประสิทธิภาพ
เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้อง
ในกระบวนการในเรื่องของความต้องการ อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากคำนิยามดังกล่าวแล้วก็ยังมีคำนิยามหลากหลายนับแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากศัพท์คำว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง จนมาถึงศัพท์สมัยใหม่คือคำว่า
เศรษฐศาสตร์ แม้ว่าจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เคยให้คำนิยามเศรษฐศาสตร์ในฐานะที่เป็น "ศาสตร์เกี่ยวกับการคิด" ซึ่งตามประวัติของเศรษฐศาสตร์นั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับ "ความมั่งคั่ง" จนกระทั่งเป็น "สวัสดิการ" ไปจนถึงการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับภาวะการได้อย่างเสียอย่าง (trade offs) แต่สำหรับสำนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่อย่างนีโอคลาสสิกจะให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวแปรที่
สามารถวัดค่าได้ และผลกระทบของมันกับระดับราคา

หากจะกล่าวโดยสรุป สามารถกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร

ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ให้กับมนุษย์ซึ่งมีความต้องการอย่างไม่จำกัด ศาสตร์นี้จึงให้ความสนใจ

ว่าจะจัดสรรทรัพยากรอะไร ให้กับใคร เท่าใด เมื่อใด และอย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

แม้การถกเถียงเรื่องการซื้อขายและการจัดสรรจะมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เศรษฐศาสตร์ในความคิดของคนสมัยใหม่นั้นจะถือเอาวันที่อดัม สมิธได้เผยแพร่หนังสือเรื่อง ความมั่งคั่งของประเทศชาติ ในปี 1776 เป็นการเริ่มต้นเดิม อดัม สมิธ เรียกวิชานี้ว่าเศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็น เศรษฐศาสตร์ เพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 187

ไม่มีความคิดเห็น: